นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักจริยธรรมและ
ความโปร่งใส
ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินและบริษัทไม่อาจยอมรับให้เกิดขึ้นได้จึงถือเป็นหลักการและหน้าที่รับผิดชอบสำหรับคณะกรรมการบริษัท กรรมการ ผู้บริหารทุกระดับ พนักงานตลอดจนบุคลากรของบริษัทได้ปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่ดีและมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติงาน รวมถึงการให้และการรับสินบนตลอดจนให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานการปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมอย่างเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตคอร์รัปชัน และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อให้การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน (Anti – Corruption Policy) (นโยบายฯ) ฉบับนี้ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้คณะกรรมการบริษัท กรรมการ ผู้บริหารทุกระดับ พนักงาน ตลอดจนบุคลากรของบริษัทปฏิบัติตามนโยบายฯ กฎหมาย และข้อกำหนดเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ (zero-tolerance) อันเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างมาตรการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหลักการที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท (Codes of Conduct)
หมายเหตุ: นโยบายฉบับนี้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567
1.1 เพื่อให้คณะกรรมการบริษัท กรรมการ ผู้บริหารทุกระดับ พนักงาน ตลอดจนบุคลากรของบริษัทปฏิบัติตามนโยบายฯ กฎหมาย และข้อกำหนดเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง
1.2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
1.3 เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทุจริต และการคอร์รัปชัน รวมถึงป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากการทุจริต และการคอร์รัปชัน
2.1 นโยบายฉบับนี้ บังคับใช้กับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการทุกคณะ กรรมการ ผู้บริหารทุกระดับ พนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว พนักงานฝึกงาน และบุคลากรในทุกระดับ (รวมเรียกว่า “บุคลากรของบริษัท”)
2.2 นโยบายฉบับนี้ ครอบคลุมถึงตัวแทน ตัวกลาง ผู้รับจ้างอิสระ ที่ปรึกษาที่กระทำการ หรือดำเนินการในนามของบริษัท (รวมเรียกว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ”)
3.1 บริษัทมีนโยบายที่จะต่อต้านการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต และการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัทเห็นความสำคัญ และมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชัน
3.2 บุคลากรของบริษัทจะไม่ข้องเกี่ยวกับการทุจริต และการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยบุคลากรของบริษัทต้องไม่ให้ เสนอให้ สัญญา ดำเนินการ เรียกร้อง หรือยอมรับการทุจริต และการคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ตนเอง หรือผู้อื่น (เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก เป็นต้น) ทั้งที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐและระหว่างหน่วยงานในภาคเอกชน ที่อาจพิจารณำได้ว่าเป็น การคอร์รัปชัน และจะต้องปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3.3 บุคลากรของบริษัทต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชันตลอดจนต้องร่วมกันสร้างค่านิยมและสร้างความตระหนักในการดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และปราศจากการทุจริต และการคอร์รัปชันให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร
- “การคอร์รัปชัน” (Corruption) หมายถึง การใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบกระทำกำรใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันมิควรได้ทั้งต่อองค์กร ตนเองหรือผู้อื่น ทั้งนี้ การคอร์รัปชัน ครอบคลุมถึง การให้ และ/หรือรับสินบน (Bribery) การเรียกร้องผลประโยชน์หรือการข่มขู่ การให้ผลประโยชน์ และการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานเอกชน เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นหรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้
- “การทุจริต” (Fraud) หมายถึง การกระทำโดยเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น (อาทิ คนในครอบครัว ญาติ มิตร บุคคลใกล้ชิด เป็นต้น)
- “สินบน” (Bribery) หมายถึง การเสนอ การสัญญา หรือการมอบ รวมทั้งการเรียกร้อง หรือรับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีมูลค่าไม่ว่าจะโดยตรง หรือโดยอ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจ หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามประมวลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท (Codes of Conduct)
- “การกระทำผิด” หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำใด ๆ ของฝ่ายบริหารหรือพนักงาน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ข้อบังคับการทำงาน ระเบียบ ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- “ประเพณีนิยม” หมายถึง เทศกาลหรือวันสำคัญ ซึ่งอาจมีการให้ของขวัญกัน และหมายความรวมถึง โอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย
- “การช่วยเหลือทางการเมือง” (Political Contribution) หมายถึง การให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือส่งเสริม ให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามบริษัทเพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือผลประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือความได้เปรียบทางธุรกิจทางการค้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสิทธิเสรีภาพ
- “การบริจาคเพื่อการกุศล” (Charitable Contribution) หมายถึง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่จัดตั้งขึ้น เช่น สมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณะ วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรที่ทำ ประโยชน์เพื่อสังคม อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำสาธารณะประโยชน์ให้สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือไม่หวังผลประโยชน์จากองค์กรที่เข้าไปให้การบริจาค
- “การสนับสนุน” (Sponsorship) หมายถึง การจ่ายให้หรือการได้รับจากลูกค้า คู่ค้า สมาคม มูลนิธิ องค์กรการกุศล หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท อันเป็นประโยชน์ต่อการ สร้างความน่าเชื่อถือทางการค้า ช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจและความเหมาะสมแก่โอกาส
- “ค่าของขวัญ ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จ่ายเพื่อเป็นค่าสิ่งของใดๆ ที่มีมูลค่าทางการเงิน เช่น สิ่งที่ใช้แทนเงินสด สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนเป็นสินค้า หรือบริการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือการบริการอื่นที่มีมูลค่า การเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่ม การแสดง การร่วมกิจกรรมกีฬา เช่น การตีกอล์ฟ กิจกรรมสันทนาการ เป็นต้น
- “การจ่ายค่าอํานวยความสะดวก” (Facilitation Payment) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ โดยเป็นการจ่ายซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด(ถ้ามี) แม้จะเป็นจำนวนเล็กน้อยเพื่อชักจูงให้ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่เร่งรัดให้มีการดำเนินการหรือเพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่าจะมีการดำเนินการใดๆ ตามหน้าที่ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องกระทำอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรอง และการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น
- “ความขัดแย้งทางผลประโยชน์” (Conflict of Interests) หมายถึง การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และ ประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interests) สถานการณ์ หรือการกระทำที่บุคลากรของบริษัทที่มีผลประโยชน์ส่วนตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนา ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายจนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไปโดยไม่เห็นว่าเป็นความผิด จนส่งผลให้บุคคลนั้นขาดการตัดสินใจที่เที่ยงธรรม เนื่องจากยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
- “การจ้างพนักงานรัฐ” (Revolving Door) หมายถึง การที่บุคคลผู้เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมืองที่ปรึกษาของหน่วยงานรัฐ และได้เข้ามาทำงานให้กับบริษัท และอาจอาศัยความสัมพันธ์หรือข้อมูลภายในเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรกำกับดูแลธุรกิจกับบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยผลของการกระทำนั้นมุ่งหวังให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม หรือการกำหนดนโยบายเอื้อต่อประโยชน์ต่อบริษัทที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นทำงานให้
- “การแจ้งเบาะแส” หมายถึง การแจ้งข้อมูล การแจ้งเบาะแส การร้องเรียน หรือการสอบถามข้อสงสัยในการกระทำที่สงสัยว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท (Codes of Conduct)
- “ผู้รับเรื่องร้องเรียน” หมายถึง ประธานกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระ)คณะกรรมการสอบสวน (คสส.) ผู้บริหารฝ่ายกำกับดูแลกิจการ และผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล
- “ผู้ร้องเรียน” หมายถึง บุคลากรของบริษัท รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสด้วยเจตนาสุจริต เมื่อพบเห็นการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบายฯ หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Code of Conduct)
- “ผู้ถูกร้องเรียน” หมายถึง บุคลากรของบริษัทที่ถูกร้องเรียน หรือถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบายฯ หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Code of Conduct) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
5.1 คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชันของบริษัท ในภาพรวมตลอดจนกำหนด และอนุมัตินโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นผู้นำที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชันเพื่อแสดงจุดยืนให้แก่บุคลากรของบริษัท พันธมิตรทางธุรกิจ และสาธารณชน
5.2 คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน การสอบทานรายงานทางการเงิน การจัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการต่างๆ มีการกำหนดการควบคุมภายในอย่างเหมาะสมและมีการนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมภายในที่คำนึงถึงความเสี่ยงในการเกิดการทุจริต และการคอร์รัปชัน
5.3 คณะกรรมการความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแล การปฏิบัติ ตลอดจนการกำหนดและอนุมัติแนวปฏิบัติ การสอบทานและทบทวนนโยบาย รวมทั้งแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชัน เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าวจะถูกนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนและเหมาะสมทั่วทั้งองค์กร
5.4 คณะกรรมการบริหาร/กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการนำนโยบายฯ และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริต และการคอร์รัปชันไปเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบ มาตรการ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
5.5 คณะกรรมการสอบสวน มีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม รายงานข้อเท็จจริงต่อประธานกรรมการตรวจสอบ และสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาการร้องเรียน โดยนำเสนอมาตรการดำเนินการเพื่อระงับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายฯ และระเบียบข้อบังคับในการทำงาน พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ และรายงานต่อประธานกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการตรวจสอบ
5.6 ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานระบบการควบคุมภายในของบริษัท ตลอดจนการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชัน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และมีความเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านการทุจริต และการคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งประเด็นเร่งด่วนที่พบต่อผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที
5.7 บุคลากรของบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการต้องปฏิบัติตามนโยบาย กรณีมีข้อสงสัยหรือพบการฝ่าฝืนระเบียบบริษัทจะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือผ่านทางช่องทางการแจ้งเบาะแสที่บริษัทกำหนดไว้
5.8 ฝ่ายกำกับดูแลกิจการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดำเนินการสื่อสารให้พนักงานต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและระเบียบข้อบังคับในการทำงาน โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
6.1 บุคลากรของบริษัทมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบาย โดยคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ฝ่ายบริหารนำมาตรการต่อต้านการทุจริต และการคอร์รัปชันไปสื่อสารและปฏิบัติ
6.2 บุคลากรของบริษัทซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายฉบับนี้ ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่กำหนด รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย แต่ทั้งนี้บริษัทจะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อผู้ที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
6.3 บริษัทจัดให้มีระเบียบการเบิกจ่ายโดยกำหนดวงเงิน อำนาจอนุมัติ วัตถุประสงค์ และผู้รับ ซึ่งต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนประกอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทุจริตหรือคอร์รัปชัน พร้อมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน
6.4 บริษัทจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบงานขายและการตลาด รวมถึงงานจัดซื้อ และการทำสัญญาเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่าย และระเบียบการจัดซื้อ โดยหน่วยงานตรวจสอบภายในจะให้ความเห็น และติดตามวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
6.5 บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และการเลื่อนตำแหน่ง
6.6 บริษัทจัดให้มีการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่กำหนดขึ้นช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และช่วยค้นหาข้อบกพร่องจุดอ่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
6.7 ฝ่ายตรวจสอบภายในสามารถรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วนต่อคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป
7.1 ค่าของขวัญ ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7.1.1 ค่าของขวัญ
บริษัทกำหนดขั้นตอนการควบคุมเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าของขวัญให้แก่บุคลากรของบริษัท บุคคล องค์กรเอกชน องค์กรของรัฐ และเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนี้
- การให้ของขวัญ หรือของที่ระลึกตามประเพณีนิยมสามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับมูลค่าของขวัญที่ให้ต้องเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด งดการให้ของขวัญ หากการให้ของขวัญมีอิทธิพลและผลประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ
- การให้ของขวัญหรือของที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญแก่ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ สามารถกระทำได้ตามมูลค่า สูงสุด 3,000 บาท (สามพันบาท) โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน หรือกรรมการผู้จัดการผู้ใดผู้หนึ่งทุกครั้ง
- การให้ของขวัญหรือของที่ระลึกที่มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท (มูลค่าเกินสามพันบาท) ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดซื้อ หรือการเบิกเงินตามอำนาจอนุมัติ และอำนาจดำเนินการของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยผ่านการอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน และกรรมการผู้จัดการเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
- การให้ของขวัญ หรือของที่ระลึกตามประเพณีนิยมสามารถกระทำได้ภายใต้ขอบเขต ดังนี้
- ไม่เป็นการกระทำโดยเจตนา ตั้งใจ เพื่อครอบงำ ชักนำ หรือตอบแทนบุคคลใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบใด ๆ ผ่านการกระทำไม่เหมาะสม หรือเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจนหรือแอบแฝง เพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน์
- เป็นการให้ในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามของพนักงานหรือฝ่ายบริหาร
- ไม่เป็นของขวัญที่อยู่ในรูปของเงินสด หรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด (เช่น บัตรของขวัญ หรือบัตรกำนัล) กรณีที่รับเป็นอาหาร ขนม หรือของสดให้นำส่งคืนฝ่ายนั้น ๆ เพื่อแจกจ่ายภายในหน่วยงาน
- เป็นการให้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตรุษจีน หรือปีใหม่ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปกติ
- การให้ของขวัญ หรือของที่ระลึกควรส่งมอบในรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร เช่น ปฏิทิน ไดอารี่ สินค้าแบรนด์บริษัท สินค้าที่ใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ของบริษัทและบริษัทในเครือ สินค้าโครงการหลวง โครงการในพระราชดำริ หรือสินค้าชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท สินค้าเพื่อการกุศล เป็นต้น
- เป็นการให้อย่างเปิดเผย ไม่ปกปิด เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีมูลค่ามีความเหมาะสม และมอบให้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
- ห้ามมิให้บุคลากรของบริษัทรับของขวัญหรือของที่ระลึก อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธ และจำเป็นต้องรับของขวัญหรือของที่ระลึกไว้ พนักงานต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามสายงานรับทราบ พร้อมนำส่งของขวัญ หรือของที่ระลึกดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาตามสายงาน เพื่อรวบรวมดำเนินการบริหารจัดการที่ถูกต้องต่อไป เช่น การรวบรวมนำไปบริจาคยังหน่วยงานหรือองค์กรการกุศลต่างๆ หรือเป็นของรางวัลให้แก่พนักงานตามความเหมาะสม
7.1.2 ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงรับรองหรือบริการต้อนรับทางธุรกิจ (Hospitality) เช่น การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารเครื่องดื่ม และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือเป็นจารีตทางการค้า สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมตามนโยบายที่กำหนด และไม่ส่งผลกระทบด้านลบ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรับหรือเลี้ยงรับรองผู้ที่รับเลี้ยงหรือผู้ที่เป็นตัวแทนในการเลี้ยงรับรองห้ามรับหรือเลี้ยงตามประเด็นดังนี้
- การรับหรือเลี้ยงรับรองต้องเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของบริษัทโดยไม่ขัดกับระเบียบข้อบังคับ คำสั่งนโยบายของบริษัท หรือขัดต่อกฎหมายทุกกรณี เพื่อสร้างอิทธิพลในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- การรับหรือเลี้ยงรับรองต้องมีตัวแทนของบริษัทที่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงการบ่งบอกเป็นนัยว่าการรับหรือเลี้ยงรับรองดังกล่าวมีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจใดๆ แต่ควรจัดขึ้นเพียงเพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท หรือเพื่อสร้างโอกาสในการทำความรู้จักลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
- การเลี้ยงรับรองต้องไม่เกี่ยวข้องหรือเข้าข่ายลามกอนาจาร ทุจริตหรือติดสินบน หรือสนับสนุนกิจกรรมการการเมือง หรือให้สินบนกับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์องค์กร
- การเลี้ยงรับรองที่มีมูลค่าสูงสุด 5,000 บาท (ห้าพันบาท) จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน หรือกรรมการผู้จัดการผู้ใดผู้หนึ่งทุกครั้ง
- การเลี้ยงรับรองที่มีมูลค่าเกิน 5,000 บาท (เกินห้าพันบาท) จะต้องต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน และกรรมการผู้จัดการทุกครั้ง
7.2 การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Contribution, Donations And Aid Grants)
การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Contribution, Donations And Aid Grant) ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศลและดำเนินกิจกรรมด้านบริจาคในนามบริษัทหรือบริษัทในเครือให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ของบริษัท โดยการบริจาคนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริงหรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลหรือการบริจาคเพื่อสังคม ห้ามบุคลากรของบริษัทบริจาคให้กับบุคคล นิติบุคคล องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ดังนี้
- สนับสนุนการเมือง พรรคการเมือง หรือกิจกรรมแอบแฝงทางการเมืองให้กับบุคคล นิติบุคคล องค์กร หรือ หน่วยงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือบริจาคให้กับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อเป็นการให้คุณให้โทษในการประกอบธุรกิจของบริษัท ยกเว้นกรณีการบริจาคเพื่อสาธารณกุศล
- มีเจตนาไม่สุจริตเพื่อหวังผลใดๆ แม้ว่าจะเป็นผลทางธุรกิจของบริษัทก็ตาม
- กรณีต้องบริจาคเงินหรือสิ่งของที่มีมูลค่าสูงสุด 5,000 บาท (ห้าพันบาท) จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน หรือกรรมการผู้จัดการผู้ใดผู้หนึ่งทุกครั้ง
- กรณีต้องบริจาคเงินหรือสิ่งของที่มีมูลค่าเกิน 5,000 บาท (เกินห้าพันบาท) จะต้องต้องได้รับอนุมัติตามขั้นตอนจัดซื้อ หรือการเบิกเงินตามอำนาจอนุมัติ และอำนาจดำเนินการของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยผ่านการอนุมัติจากผู้อำนวยการสายงาน และกรรมการผู้จัดการทุกครั้ง
- การเบิกเงิน ผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งของต้องปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทอย่างเคร่งครัด
7.3 การสนับสนุน (Sponsorships)
เนื่องจากการสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัทซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสำหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและติดตาม เงินสนับสนุนยังอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวกับการติดสินบน บริษัทจึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงินสนับสนุน กระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ต่อไปนี้
- เงินสนับสนุนนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ขอเงินสนับสนุนได้ทำกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวจริงและเป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง หรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
- เงินสนับสนุนนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าการให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น การให้ที่พักและอาหาร เป็นต้น
- ในการเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน จะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับเงินสนับสนุน วัตถุประสงค์ของการสนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนจัดซื้อ หรือการเบิกเงินตามอำนาจอนุมัติ และอำนาจดำเนินการของบริษัทอย่างเคร่งครัด
7.4 การจ่ายค่าอํานวยความสะดวก (Facilitation Payment)
บริษัทกำหนดให้บุคลากรของบริษัทห้ามจ่ายค่าอํานวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่ากรณีใดๆ เนื่องจากการจ่ายค่าอํานวยความสะดวกที่จ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความเสี่ยงสูงมากที่จะกลายเป็นการให้สินบน หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่มิชอบด้วยกฎหมาย
7.5 การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contributions)
บริษัทเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการดำเนินการใดๆ ที่เป็นไปตามระบอบการปกครองในประเทศ ทั้งนี้ บริษัทสนับสนุนให้บุคลากรของบริษัทยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เข้าร่วมกิจกรรมตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่จะต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใดๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆ ในทางการเมือง
บริษัทจะไม่สนับสนุนทางการเงินหรือสิ่งของให้แก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกทางการเมืองใดๆ ไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับบริษัท
7.6 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests)
บริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อมุ่งเน้นการกระทำที่ถูกต้อง โดยบุคลากรของบริษัทต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นสำคัญ ทั้งนี้ภายใต้กรอบความถูกต้องตามกฎหมาย และจริยธรรม หลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจและการปฏิบัติงานในหน้าที่ โดยกำหนดให้บุคลากรของบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสียกับรายการที่พิจารณาต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพื่อป้องกันรายการที่อาจเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการระหว่างกัน บริษัทจึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ดังต่อไปนี้
- กรรมการบริษัทและผู้บริหารต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงความสัมพันธ์ หรือรายการเกี่ยวโยงในกิจการที่อาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว เช่น การร่วมถือหุ้นในกิจการคู่แข่งของบริษัท การร่วมลงทุน หรือดำรงตำแหน่งกับคู่ค้าที่ประกอบธุรกิจกับบริษัท การทำธุรกิจหรือการให้บริการกับบริษัทโดยตรง หรือทำการผ่านผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท และ/หรือบริษัทย่อย ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการนั้นให้มีการนําเสนอรายการที่เกี่ยวโยงกันต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นก่อนเสนอขออนุมัติต่อคณะคณะกรรมการบริษัท ตามหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
- บุคลากรของบริษัทต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท และประมวลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท (Code of Conduct) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อให้บริษัทเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความเข้าใจในการถือปฏิบัติของพนักงานทั่วทั้งบริษัท
- บุคลากรของบริษัทต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น โดยอาศัยข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทรวมไปถึงข้อมูลสำคัญของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตน
- บริษัทกําหนดให้กรรมการ และผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสําคัญในลักษณะที่อาจทำให้ กรรมการ หรือผู้บริหารรายดังกล่าวไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระ และไม่มีส่วนในการพิจารณารายการที่ตนมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ รวมถึงไม่มีอำนาจในการอนุมัติการเข้าทำรายการในวาระนั้น
นอกจากนี้บริษัทจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระแล้วแต่กรณี พิจารณาตรวจสอบและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคา และความเหมาะสมของการทำรายการ และจะทำการเปิดเผยรายการระหว่างกันดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบ หรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทในแบบ 56-1 One Report / รายงานประจำปี
ให้ใช้แนวปฏิบัติเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests) ตามนโยบายฉบับนี้ บังคับใช้กับนโยบายหรือแนวโน้มในการทำรายการระหว่างกันในอนาคต และนโยบายในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
7.7 การจ้างพนักงานรัฐ (Revolving Door)
ในการจ้างพนักงานรัฐเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือที่ปรึกษาของบริษัท บริษัทกำหนดให้ต้องมีกระบวนการคัดเลือก การอนุมัติการจ้าง การกำหนดค่าตอบแทนและกระบวนการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่าการจ้าง พนักงาน จะไม่ได้เป็นการตอบแทนการได้มาซึ่งประโยชน์ใดๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท ทำลายภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือและความซื่อตรงของการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน ดังนี้
- จ้างหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ยังอยู่ในตำแหน่งหากไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือระเบียบและข้อบังคับของหน่วยงานรัฐที่บุคคลดังกล่าวสังกัด รวมถึงไม่เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับหน่วยงานรัฐ และบุคคลดังกล่าวมิได้มีการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทหรือผลประโยชน์ต่างตอบแทน ทั้งนี้ รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่มีข้อกําหนด จากหน่วยงานจัดตั้งให้สามารถมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กรได้
- กำหนดระยะเวลาเว้นวรรค (cooling-off period) เป็นเวลา 2 ปี สำหรับการแต่งตั้งอดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกจากตำแหน่ง หรือบุคคลที่เคยทำงานให้กับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยตรงเว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการบริหารกิจการของบริษัท และบุคคลดังกล่าวมิได้มีการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทหรือผลประโยชน์ต่างตอบแทน
- การสรรหาบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแต่งตั้งหรือว่าจ้างเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัท จะกระทำได้เมื่อดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบ (Due Diligence) ประวัติการทำงานและการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐของบุคคลดังกล่าว เพื่อพิจารณาเรื่องความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับหน่วยงานรัฐ
- การแต่งตั้งหรือว่าจ้างบุคคลที่พ้นจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัท จะกระทำได้เมื่อการแต่งตั้งหรือว่าจ้างนั้นไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือระเบียบและข้อบังคับของหน่วยงานรัฐที่บุคคลดังกล่าวเคยสังกัด
บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์การทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐของกรรมการที่ปรึกษา หรือผู้บริหารของบริษัททั้งข้อมูลในอดีตและปัจจุบันในเอกสารเผยแพร่ของบริษัท เช่น แบบ 56-1 One Report / รายงานประจำปี
7.8 การจัดซื้อ/จัดจ้าง
การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ หรือ ขั้นตอนที่บริษัทกำหนดไว้ในระเบียบการจัดซื้อ/จัดจ้าง และสอดคล้องกับอำนาจอนุมัติและอำนาจดำเนินการ มีความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผล ด้านราคา คุณภาพ และบริการที่ได้รับรวมทั้งคำนึงถึงมาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการพึงมี เช่น มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ ปฏิบัติ ตามนโยบายและระเบียบการ จัดซื้อจัดจ้างของบริษัทและเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน
7.9 การซื้อขายหลักทรัพย์ และการใช้ข้อมูลภายใน
การจัดทำ เก็บรักษา หรือเปิดเผยข้อมูลภายในต้องดำเนินการอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ไม่นำข้อมูลภายในอันเป็นข้อมูลในการดำเนินการและบริหารกิจการที่ตนล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนไปใช้แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือบุคคลอื่นโดยมิชอบกรรมการและผู้บริหารควรหลีกเลี่ยงการซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ภายในระยะเวลา 30 วัน(สามสิบวัน) ล่วงหน้าก่อนการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน และควรรอไปอีกอย่างน้อย 24 ชั่วโมง (ยี่สิบสี่ชั่วโมง) ภายหลังการเปิดเผยข้อมูลให้แก่สาธารณะแล้ว กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ และไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เมื่อทราบข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ
7.10 การตรวจสอบทางบัญชี และการจัดเก็บรักษาข้อมูล
บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบบัญชี และการจัดเก็บรักษาข้อมูล เพื่อสนับสนุนนโยบายให้เกิดประสิทธิภาพ และป้องกันมิให้มีการทุจริต หรือการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
- บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี มีการอนุมัติอย่างเหมาะสมก่อนบันทึกรายการเข้าระบบบัญชี โดยจะตรวจสอบนโยบายต่างๆ ของบริษัท กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สัญญาหรือข้อตกลง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและนโยบายการบัญชีอย่างเหมาะสม
- ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายการลงทุน ต้องมีหลักฐานประกอบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และต้องได้รับการอนุมัติตามตามอำนาจอนุมัติ และอำนาจดำเนินการของบริษัทที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- รายงานทางการเงินจะต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เป็นจริง และเชื่อถือได้ และต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสำคัญ อย่างถูกต้องครบถ้วน รวมถึงข้อมูลรายการระหว่างกัน และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น
- บริษัทมีการควบคุมการจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเพียงพอและปลอดภัย เพื่อใช้ในการตรวจสอบได้ทันที มีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลทางบัญชี และมีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสำรองอย่างปลอดภัย
บริษัทกำหนดให้การบริหารบุคลากร (Human Resources) ต้องสนับสนุนนโยบายให้เกิดประสิทธิภาพและป้องกันมิให้มีการทุจริต และการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยมีแนวปฏิบัติในการดำเนินการ มีดังนี้
- บริษัทนำนโยบายฉบับนี้มาปรับใช้กับการบริหารบุคลากรของบริษัท ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกพนักงาน โดยพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกต้องไม่กระทำความผิดทางวินัย หรือไม่ได้รับโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนี้ การเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลงานและการให้ผลตอบแทนบริษัทต้องพิจารณาผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบาย และไม่มีประวัติการกระทำทุจริตคอร์รัปชัน มีความประพฤติที่ขัดขวางต่อการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้
- บริษัทจะไม่ลดตำแหน่ง ไม่ลงโทษ ไม่ให้ผลทางลบต่อบุคลากรของบริษัทที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
- บริษัทมีการฝึกอบรมมาตรการและความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่องให้กับบุคลากรของบริษัทเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
- บริษัทมีการสื่อสารนโยบายให้บุคลากรของบริษัทได้รับทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงชี้แจงบทลงโทษของการฝ่าฝืนนโยบายนี้ให้แก่พนักงานทุกระดับของบริษัทรับทราบ
เพื่อให้บุคลากรของบริษัทได้รับทราบ นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน คณะกรรมการจึงกำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางดังนี้
9.1 จัดให้มีการสื่อสารนโยบายฯ ให้แก่บุคลากรของบริษัทผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท อาทิ จดหมาย อีเมล์ เว็บไซต์ อินทราเน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
9.2 จัดให้มีการปฐมนิเทศนโยบายฯ ให้แก่บุคลากรของบริษัท
9.3 พนักงานต้องลงนามในแบบฟอร์มและให้คำรับรองเพื่อยืนยันว่าได้รับรู้เนื้อหาของประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) และนโยบายฯ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าได้รับทราบและยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้ พนักงานไม่สามารถใช้ข้ออ้างว่าไม่ได้อ่านหรือไม่ได้ลงนามรับรู้ในแบบฟอร์มมาเป็นเหตุผลที่จะไม่ปฏิบัติตาม
9.4 ดำเนินการทบทวนนโยบายฯ อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หากประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) หรือนโยบายฯ มีการยกเลิกข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งในนโยบายนั้น การถูกยกเลิกจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และจะต้องเปิดเผยข้อกำหนดที่ถูกยกเลิกนั้นให้ทราบในทันที
9.5 สนับสนุนให้กรรมการ และผู้บริหารมีส่วนรวมในการให้ความรู้แก่พนักงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายฯ
บริษัทมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยบริษัทได้กำหนดการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blowing Policy) ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้บุคลากรของบริษัท ตลอดจนลูกค้า บุคคลภายนอกสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสในกรณีที่พบเห็นการทุจริต และการคอร์รัปชัน หรือเมื่อเกิดการทุจริต การคอร์รัปชัน การกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดกฎข้อบังคับ นโยบาย หรือระเบียบต่างๆ ที่บริษัทกำหนด ผิดต่อประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) นำมาสู่การปรับปรุงแก้ไขหรือดำเนินการให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม โปร่งใส และยุติธรรมต่อไป ทั้งนี้ ประธานกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่เป็นผู้รับเรื่องเรื่องร้องเรียนด้านการกำกับดูแลกิจการและประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) ของบริษัท โดยมีช่องทางการร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสและเรื่องที่แจ้งจะถูกเก็บเป็นความลับเพื่อป้องกันกรณีถูกละเมิดสิทธิ
เมื่อบุคลากรของบริษัท ผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ตลอดจนลูกค้า บุคคลภายนอกพบเห็นการทุจริต และการคอร์รัปชัน หรือเมื่อเกิดการทุจริต การคอร์รัปชัน การกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดกฎข้อบังคับ นโยบาย หรือระเบียบต่างๆ ที่บริษัทกำหนด ผิดต่อประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) สามารถร้องเรียนโดยมีขั้นตอน และแนวปฏิบัติดังนี้
10.1 ช่องทางในการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส
ประธานกรรมการตรวจสอบ
บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 72 อาคาร โทรคมนาคม บางรัก ชั้น 20 ถนนเจริญกรุง
แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
(E-mail): suranits@sgcapital.co.th
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ช่องทางการติดต่อสำหรับบุคคลภายนอก : SgcAmnesty@sgcapital.co.th
ช่องทางการติดต่อสำหรับบุคลากรภายในบริษัท : Sgcvoice@sgcapital.co.th
10.2 แนวทางปฏิบัติแจ้งเบาะแสการกระทำผิด
- บริษัทกำหนดให้ประธานกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระ)คณะกรรมการสอบสวน (คสส.) ผู้บริหารฝ่ายกำกับดูแลกิจการ และผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส เพื่อให้ผู้ร้องเรียนเกิดความมั่นใจว่าบริษัทจะอำนวยความยุติธรรมในเรื่องร้องเรียนและเบาะแสที่แจ้ง
- บริษัทจะดำเนินการอย่างยุติธรรมต่อผู้ร้องเรียน หากเป็นบุคลากรของบริษัทจะไม่มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ สถานที่ทำงาน พักงาน ข่มขู่ คุกคาม เลิกจ้าง หรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการไม่ยุติธรรมต่อผู้แจ้งเบาะแส และหากเป็นลูกค้าหรือบุคคลภายนอก บริษัทจะพิจารณาและสอบสวนด้วยความโปร่งใส โดยปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคเพื่อให้ผู้ร้องเรียนเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบที่เป็นธรรม
- ผู้ร้องเรียนที่ไม่ได้มีเจตนาสุจริตในการรายงาน และหรือต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่ตั้งใจให้เกิดความเสียหายหรือรายงานไม่ถูกต้อง หากเป็นพนักงานจะต้องได้รับโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท หากเป็นลูกค้าหรือบุคคลภายนอกซึ่งทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทจะพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย
- บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับรายงานไว้เป็นความลับ เช่น ชื่อผู้ร้องเรียน หรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่รายงาน ยกเว้นแต่มีการขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีการร้องขอตามกฎหมาย บริษัทจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบก่อนที่จะเปิดเผยข้อมูล
- ประธานกรรมการตรวจสอบจะพิจารณาเรื่องที่แจ้งว่าจำเป็นที่จะต้องสอบสวนหรือไม่ โดยคำนึงถึงหลักความยุติธรรมเที่ยงธรรม และสุจริต หากมีการสอบสวนจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ หากผู้ร้องเรียนไม่แสดงตัวตนผู้รับเรื่องร้องเรียนจะไม่สามารถแจ้งการสอบสวนกลับไปยังผู้ร้องเรียนได้
- ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ผู้รับเรื่องร้องเรียนจะรายงานเบาะแสดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทำการพิจารณาต่อไป โดยคณะกรรมการตรวจสอบอาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น ทั้งนี้ผู้ถูกร้องเรียนต้องไม่อยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบ และไม่อยู่ในคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ถูกร้องเรียนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการสอบสวน ผู้รับเรื่องร้องเรียนจะรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
- ในกรณีที่ผลการสอบสวนได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริง บริษัทจะกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขให้ทันท่วงที และหากจำเป็นบริษัทจะดำเนินการลงโทษกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินการรายงานให้หน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องรับทราบ
- ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับจากผู้ร้องเรียน และหลักฐานอื่น สิ่งที่ตรวจพบ ผลการสอบสวน จะเก็บไว้เป็นเอกสารความลับที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
10.3 อำนาจดำเนินการ
-
คณะกรรมการบริษัท
กำหนดและอนุมัตินโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blowing Policy) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและนำไปปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมภายในองค์กร
-
คณะกรรมการตรวจสอบ
สอบสวนข้อเท็จจริง รวมถึงสอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในอย่างเหมาะสมเพียงพอ และเป็นไปตามนโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blower)
-
ผู้รับเรื่องร้องเรียน
รับแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน รายงานการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียนต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ คณะกรรมการสอบสวน
-
คณะกรรมการสอบสวน
เป็นองค์กรอิสระมีหน้าที่ในการสอบสวนข้อเท็จจริง ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติดังนี้
- แจ้งการรับเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
- รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม
- รายงานข้อเท็จจริงต่อประธานกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาการร้องเรียน ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน (สามสิบวัน)
- นำเสนอประธานกรรมการตรวจสอบ ถึงมาตรการดำเนินการเพื่อระงับการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบายฯ หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct)
- พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่กระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบายฯ หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) ตามที่บริษัทเห็นสมควร
- แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบหากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเองภายใน 7 วันนับจากวันที่ผลการพิจารณาสิ้นสุด ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ
- ให้รายงานผลต่อประธานกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการตรวจสอบทราบ
10.4 กระบวนการพิจารณาตามการแจ้งเบาะแส หรือเรื่องร้องเรียน
เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสจากผู้ร้องเรียนว่าอาจมีกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบาย หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) กำหนดให้มีกระบวนการดำเนินการพิจารณาดังนี้
- แจ้งการรับเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
- ผู้รับเรื่องร้องเรียนรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบาย หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct)
- ผู้รับเรื่องร้องเรียนรายงานข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาการร้องเรียน ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบอาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการสอบสวนแล้วแต่กรณีต้องสอบสวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน (สามสิบวัน) นับจากวันที่ได้รับแจ้ง โดยแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็นด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง การทุจริต และการคอร์รัปชัน เป็นต้น
- คณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการสอบสวน ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และนำเสนอมาตรการดำเนินการต่อประธานกรรมการตรวจสอบเพื่อระงับการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบาย หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct)
- คณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการสอบสวน พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่กระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ นโยบาย หรือประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) ตามที่บริษัทเห็นสมควร รวมทั้งพิจารณาการดำเนินการบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
- การรายงานผล ผู้รับเรื่องร้องเรียนหรือคณะกรรมการสอบสวน มีหน้าที่แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบหากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเองภายใน 7 วันนับจากวันที่ผลการพิจารณาสิ้นสุด ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ
- ให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนหรือคณะกรรมการสอบสวน รายงานผลต่อประธานกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ คณะกรรมการบริษัท และ/หรือ คณะกรรมการตรวจสอบทราบ
10.5 มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด
- บริษัทจะไม่เลิกจ้าง พักงาน ลงโทษทางวินัย หรือขู่ว่าจะดำเนินการต่างๆ จากการที่พนักงานให้ข้อมูลการกระทำผิด หากผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าว จะถูกลงโทษทางวินัย
- บริษัทจะป้องกันไม่ให้มีการข่มขู่ คุกคาม พนักงานผู้ให้ข้อมูลการกระทำผิด รวมถึงผู้ที่ให้ความร่วมมือหรือความช่วยเหลือในการสอบสวนด้วยเจตนาสุจริต
- บริษัทจะให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมเป็นพิเศษตามความเหมาะสม โดยจะพิจารณาจากระดับความร้ายแรงและความสำคัญของเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนถูกข่มขู่ คุกคาม ให้รายงานต่อกรรมการผู้จัดการ เพื่อสั่งการให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดหามาตรการการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่กรณี
- กรณีพนักงานแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือให้ข้อมูลการกระทำผิดด้วยเจตนาสุจริต แม้ว่าบริษัทฯจะไม่พบการกระทำผิดตามที่ได้ร้องเรียน บริษัทฯจะไม่ดำเนินการลงโทษใด ๆ กับพนักงานที่ให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม หากผลการสอบสวนพบว่าเรื่องร้องเรียนไม่มีมูลความจริง และได้ทำด้วยเจตนาหรือจงใจให้เกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือให้ข้อมูลเท็จ บริษัทฯจะพิจารณาดำเนินการลงโทษพนักงานที่ให้ข้อมูลตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน รวมทั้งพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย
- บริษัทจะให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมเป็นพิเศษตามความเหมาะสม โดยจะพิจารณาจากระดับความร้ายแรงและความสำคัญของเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนถูกข่มขู่ คุกคาม ให้รายงานต่อกรรมการผู้จัดการ เพื่อสั่งการให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดหามาตรการการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่กรณี
10.6 การร้องเรียนอันเป็นเท็จ
ผู้ร้องเรียนจะต้องกระทำโดยสุจริตไม่มีเจตนากลั่นแกล้งองค์กรหรือบุคคล หากการแจ้งเบาะแสเรื่องร้องเรียน การให้ถ้อยคำหรือข้อมูลใดๆ ที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นเท็จ ไม่มีมูลความจริง หรือมีเจตนากลั่นแกล้งองค์กรหรือบุคคล หากบริษัทพบว่าการแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนไม่มีมูลความจริงตามที่ร้องเรียน และทำด้วยเจตนาร้ายหรือจงใจให้เกิดผลที่เป็นข้อมูลเท็จ บริษัทจะพิจารณาลงโทษผู้ร้องเรียน ผู้ให้ข้อมูลตามข้อบังคับการทำงาน และดำเนินคดีทางกฎหมายแล้วแต่กรณี หากเป็นบุคคลภายนอกซึ่งกระทำให้บริษัทได้รับความเสียหายบริษัทจะดำเนินการตามขั้นตอนของบริษัทหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
บริษัทต้องติดตามและทบทวนมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับนโยบายฯนี้ และดำเนินการทบทวนนโยบายฯอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งกระทบต่อการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต
บุคลากรของบริษัท และผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจที่ละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายต่างๆ รวมถึงข้อพึงปฏิบัติอื่นใดของบริษัทจะถูกดำเนินการลงโทษทางวินัยโดยพิจารณาจากเจตนา ภาวะแวดล้อม ผลการกระทำความผิด การให้ความร่วมมือในการสอบสวน การดำเนินการของผู้ละเมิด เพื่อแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก ซึ่งผู้ละเมิดอาจได้รับโทษทางวินัยตั้งแต่การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จนถึงโทษทางวิสัยสูงสุด คือ การปลดจากตำแหน่งหรือเลิกจ้าง
การเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้าน การทุจริตและการคอร์รัปชัน
เพื่อให้พนักงานทุกระดับได้รับทราบนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันคณะกรรมการจึงกำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ผ่านช่องทางดังนี้
- บริษัทจะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น เว็บไซต์ของบริษัท แบบ 56-1 One Report /รายงานประจำปี
- บริษัทจะบรรจุนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันลงในคู่มือพนักงาน
- อบรมในด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันให้กับพนักงานใหม่ในวันปฐมนิเทศโดยพนักงานทุกคนจะต้องผ่านการอบรมดังกล่าวต้องลงนามรับทราบและถือปฏิบัติตาม
- มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยตลอดปีที่ผ่านมามีพนักงานเข้าร่วมอบรมครบ 100%
- มีการสื่อสารให้พนักงานรับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของธรรมาภิบาลการทุจริตคอร์รัปชันผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆของบริษัทอย่างต่อเนื่องพนักงานทุกคนต้องลงนามในแบบฟอร์มและให้คำรับรองเพื่อยืนยันว่าได้รับรู้เนื้อหาของประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) และนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าได้อ่านแล้วและยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้พนักงานไม่สามารถใช้ข้ออ้างว่าไม่ได้อ่านหรือไม่ได้ลงนามรับรู้ในแบบฟอร์มมาเป็นเหตุผลที่จะไม่ปฏิบัติตาม
- ดำเนินการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีหากประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) หรือนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันมีการยกเลิกข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งในนโยบายนั้นการถูกยกเลิกจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และจะต้องเปิดเผยข้อกำหนดที่ถูกยกเลิกนั้นให้ทราบในทันที
- ในปีที่ผ่านมา ไม่พบข้อร้องเรียนจากการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้อง ตามกฎหมาย การทุจริตคอร์รัปชันและการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทั้งจากบุคคลภายในและภายนอกองค์กร จากช่องทางที่บริษัทดำเนินการไว้แต่อย่างใด
ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
บริษัทได้จัดให้มีช่องทางสำหรับให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการกระทำทุจริตหรือคอร์รัปชันเพื่อช่วย ปรับปรุงหรือแก้ไขให้มีความถูกต้อง และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของบริษัทเป็น ช่องทางที่เข้าถึงง่ายและเก็บความลับของผู้ร้องเรียนอย่างเคร่งครัด โดยบริษัทได้กำหนดช่องทางการรับข้อมูลการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน โดยผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ
เลขที่ 72 อาคาร โทรคมนาคม บางรัก ชั้น 20 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
(E-mail): suranits@sgcapital.co.th
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ช่องทางการติดต่อสำหรับบุคคลภายนอก : SgcAmnesty@sgcapital.co.th
ช่องทางการติดต่อสำหรับบุคลากรภายในบริษัท : Sgcvoice@sgcapital.co.th
โดยช่องทางดังกล่าวถือเป็นช่องทางที่บริษัท เปิดโอกาสให้ผู้พบเห็น หรือทราบว่ามีการทุจริตได้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต ซึ่งบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับรายงานไว้เป็นความลับ เว้นแต่กรณีที่ต้องเปิดเผยเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
การแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน
ช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริต ช่วยส่งเสริม ความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ในองค์กร
กรุณากรอกรายละเอียดของคุณด้านล่างนี้