วิกฤตการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งระดับประเทศและทั่วโลก และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ

เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหาทางตรงต่อทรัพย์สินบริษัท รวมทั้งการดำเนินธุรกิต่อธุรกิจของลูกค้าสินเชื่อ อันอาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงกำหนดให้มีกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบ อาทิ เช่น การจัดทำมาตราการลดการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รณรงค์การจัดการคัดแยกขยะ เป็นต้น

บริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล (ESG Management Committee) หรือ “ ESGM ” โดยมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแล การสร้างความรู้ ความเข้าใจ กำหนดกรอบการทำงานและกลยุทธ์ ด้านความยั่งยืนในองค์กรอย่างแท้จริง รวมถึงมีการประเมินความเสี่ยงของบริษัทร่วมกับฝ่ายบริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยเริ่มต้นด้วยการสำรวจสิ่งรอบๆตัวที่สร้างผลกระทบจนเกิดเป็นโครงการต่างๆ ดังนี้

SG for Environmental “เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี”

เพราะความตระหนักต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

คือนโยบายที่บริษัทดำเนินการมาโดยตลอดผ่านการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด ผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและการเกิดของเสีย ตลอดจนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งกระบวนการผลิต และตลอดห่วงโซ่คุณค่าบริษัท

ผลการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อม

ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการจัดทำสรุปผลการดำเนิน งานและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้

น้ำ

การบริหารจัดการน้ำอย่างรู้คุณค่า

บริษัทตระหนักดีว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ การดำเนินธุุรกิจขององค์กรจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในเกือบทุกขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน การเติบโตขององค์กร การเพิ่มขึ้นของสาขา ทำให้ปริมาณการใช้ พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น และเกิดมลพิษมากขึ้นอีกด้วย บริษัท จึงจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้ให้กับพนักงานในการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานอย่างประหยัด อาทิเช่น การปิดแอร์ก่อนเวลาเลิกงาน การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มี คุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะหลอดไฟเครื่องปรับอากาศและ อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงาน หรือ จัดประชุมวิธีประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนการเดินทางไปประชุม เป็นต้น

พลังงาน

การบริหารจัดการพลังงาน (การใช้น้ำมัน)

ปัจจุบันการดำเนินงานภายในบริษัทยังคงใช้พลังงานจากน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับฐานลูกค้าที่มีการขยายตัวเป็นประจำทุุกเดือน จำนวนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างนั้น บริษัทยังคงคำนึงถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

พลังงาน

การบริหารจัดการพลังงาน (การใช้ไฟฟ้า)

บริษัทตระหนักดีว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุุรกิจขององค์กรจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในเกือบทุกขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน การเติบโตขององค์กร การเพิ่มขึ้นของสาขา ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น และเกิดมลพิษมากขึ้นอีกด้วย บริษัทจึงจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานใหญ่ เพื่อสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้ให้กับพนักงานในการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานอย่างประหยัด อาทิเช่น การปิดแอร์ก่อนเวลาเลิกงาน การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะหลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงาน หรือ จัดประชุมวิธีประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนการเดินทางไปประชุม เป็นต้น

วัสดุ

การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

บริษัทปรับเปลี่่ยนวิธีการจัดส่งข้อมููลให้กับหน่วยงานที่่เกี่่ยวข้องโดยการจัดเก็บบน One Drive และใช้ Sharing file ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษนอกจากนี้ บริษัทมีการดำเนินโครงการรณรงค์ให้พนักงานใช้กระดาษอย่างประหยัด เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า โดยเน้นที่การใช้งานกระดาษทั้ง 2 หน้า การนำกลับมาหมุนเวียนใช้งานซ้ำ และสร้างความตระหนักให้มีการใช้อุปกรณ์สำนักงานอย่างรู้คุณค่า เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีปริมาณการใช้กระดาษสำหรับการดำเนินงาน ภายในสำนักงานใหญ่ ประมาณจำนวน 200,000 แผ่นต่อปี อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีการประชาสัมพันธ์ให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และดำเนินการตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่องสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยังยืนต่อไป

การจัดการของเสีย

การจัดการขยะ ของเสีย และมลพิษ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่วนหนึ่ง มาจากการกำจัดของเสียทั้งของเสียอันตราย (Hazardous Waste) และของเสียไม่อันตราย (Non-Hazardous Waste) การบริหารจัดการของเสียจึงเป็นประเด็นที่บริษัทให้ความสำคัญและดำเนินการสอดคล้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยบริษัทนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ควบคู่กับแนวทางการบริหารจัดการของเสีย โดยนำหลัก 3 R คือ 1) R-Reduce ลดการใช้และการบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็น 2) R-Reuse ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำกลับมาใช้ซ้ำ และ 3) R-Recycle เลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณการก่อขยะและการส่งขยะไปหลุมฝังกลบ และลดการปลดปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อม รวมถึงการวางแผนภาวะฉุกเฉินต่างๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และบริษัทจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อจัดการทรัพยากรในสถานที่ทำงาน ทำความสะอาด ลดวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลือง คัดแยกและกำจัดอย่างเหมาะสมสำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

ในกระบวนการดำเนินงานมีการใช้เชื้อเพลิงต่างๆไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำมันจากรถยนต์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทซึ่งเป็นสาเหตุุหนึ่งที่ ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นต้น สู่ชั้นบรรยากาศ บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการลดภาวการณ์เกิดก๊าซเรือนกระจกที่่เกิดจากกระบวนการดำเนินงาน อาทิ การลดการใช้พลังงาน การลดการใช้เชื้อเพลิงจากรถยนต์ต่างๆ เป็นต้น