ผลการดำเนินงานด้านสังคม

การพัฒนาและ ดูแลบุคลากรของเรา

สวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือกฎหมายกำหนด

กองทุนประกันสังคม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สหกรณ์ออมทรัพย์
การตรวจสุขภาพประจำปี
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
เงินช่วยเหลืองานฌาปนกิจ
สวัสดิการตามอายุงาน
ส่วนลดการซื้อสินค้าในกลุ่มบริษัท
กิจกรรมต่าง ๆของบริษัท

กิจกรรมต่างๆ ของบริษัท

กิจกรรม Outing ของบริษัท
กิจกรรมปีใหม่ของบริษัท
กิจกรรมวันสงกรานต์ของบริษัท
กิจกรรม Outing ของบริษัท
กิจกรรมปีใหม่ของบริษัท
กิจกรรมวันสงกรานต์ของบริษัท

ความปลอดภัย ในการทำงาน

นโยบายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

บริษัทตระหนักว่า สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรรวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมเป็นประเด็นที่บริษัทต้องให้ความสำคัญบริษัทได้มีการปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มีการจัดสรรสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน และสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดี รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะได้รับความปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุและโรคต่างๆ อันเกิดจากการทำงาน นอกจากนี้ บริษัทยังปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โดยบริษัทจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่พนักงานที่ประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน

การบริหารจัดการ ด้านสิทธิมนุษยชน SGFinance+

บริษัทสนับสนุน ส่งเสริม และมุ่งมั่น ที่จะนำหลักธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชำติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP) ด้วยหลักการสำคัญที่ว่าด้วยการปกป้องสิทธิการเคารพสิทธิและการเยียวยา เมื่อเกิดผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงานของบริษัท คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจ (คู่ค้า ผู้รับเหมา และลูกค้า) และชุมชนท้องถิ่น

บริษัทได้ประกาศใช้นโยบายการเคารพสิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารและพนักงานในกลุ่มบริษัท และคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งนโยบายการเคารพสิทธิมนุษยชน จะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) หลักการชี้นำของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights :UNGP) คู่มือการพัฒนานโยบายสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Global Compact Guide to Develop a Policy) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)

บริษัทยึดมั่นสาระสำคัญตามหลักการชี้นำของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights :UNGP) ซึ่งประกอบด้วยเสาหลัก 3 ประการ ดังนี้

เสาหลักที่ 1
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect)
หมายถึง รัฐมีหน้าที่คุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจากองค์กรของรัฐเองหรือองค์กรภาคธุรกิจ
เสาหลักที่ 2
การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)
หมายถึง บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน
เสาหลักที่ 3
การเยียวยา (Remedy)
หมายถึง การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชยเมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิผล

โดยบริษัทยึดมั่นและนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตามเสาหลักที่ 2 และ เสาหลักที่ 3

กระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Management Process)

การจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่