สร้างมูลค่าที่ยั่งยืน ด้วยบริการทางการเงินที่มั่นใจ

นโยบายและเป้าหมาย การจัดการด้านความยั่งยืน

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการให้บริการสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆที่หลากหลายอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible lending) เพื่อส่งมอบโอกาสทางการเงิน การลงทุน ไปพร้อมกับคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อบรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม

ในปี 2566 การดำเนินธุรกิจของบริษัทได้มุ่งเน้นสร้างการเติบโต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้อย่างสะดวกสบาย สนับสนุน การสร้างโอกาสให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ลดช่องว่างทางการเงิน รวมทั้งสนับสนุนการมีวัฒนธรรมสินเชื่อที่ดี (good credit culture) และส่งเสริมวินัยทางการเงินแก่ลูกค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดีบริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ(Value Chain) ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและจรรยาบรรรวมถึงการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงานก.ล.ต.”) และมาตรฐานสากลต่างๆ

ในปี 2566 บริษัทจึงได้มีการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

บริษัทได้ดำเนินการส่งมอบคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสียบนพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนบริบททางเทคโนโลยีบริบทองค์กร บริบทสังคมในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศสู่ยุค "ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น" ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีและ การสร้างสรรค์กระบวนการดำเนินธุรกิจให้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการส่งมอบให้ลูกค้าได้แก่

เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าทั้งในมุมฟังก์ชันและประสบการณ์

การใช้งานเพื่อก้าวสู่การเป็น "SGC Digital Transformation"

การประเมินความสำคัญของ ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

ด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

1. การเข้าถึงโอกาสทางการเงิน

2. การบริหารจัดการความเสี่ยง

3. การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

4. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

5. การบริหารจัดการคู่ค้า

6. การมีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม

7. ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและระบบไซเบอร์

ด้านสังคม

8. การพัฒนาและดูแลบุคลากร

9. ความปลอดภัยในการทำงาน

10. สิทธิมนุษยชน

ด้านสิ่งแวดล้อม

11. การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

12. การจัดการมลพิษด้านเสียง/อากาศและของเสีย

เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

บริษัทได้บูรณาการงานด้านความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุุรกิจผ่านกระบวนการต่างๆในห่วงโซ่ธุรกิจและสามารถนำพาองค์กรไปสู่การเป็นผู้นำของธุรกิจการให้บริการทางการเงินที่มีความหลากหลายพร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลนวัตกรรม และแพลตฟอร์ม สามารถต่อยอดธุุรกิจการให้บริการโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลภายในปี 2568 และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) รวมถึงการเปิดเผยข้อมููลให้ผู้ที่่เกี่่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึง และทันเหตุุการณ์นำไปสู่ความร่วมมือในการสร้างมููลค่าเพิ่ม และผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสียที่่เกี่่ยวข้องทุุกกลุ่มได้อย่างยั่งยืน

มิติด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตระหนักและให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจด้วยการมีระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้นบริษัทจึงได้มีการกำหนดเป้าหมายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและสนับสนุนให้ลดการใช้พลังงานธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด
มิติด้านสังคม
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงคุณค่าทางด้านสังคมโดยบริษัทยึดมั่นอยู่เสมอว่าบริษัทจะก้าวหน้าพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยการเสนอสินค้าที่มีคุณภาพมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ และรับผิดชอบในการพัฒนาสังคมส่วนรวมให้มีความเจริญควบคู่กันไปโดยกำหนดนโยบายและ แนวปฏิบัติในด้านสังคม
มิติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ เศรษฐกิจ
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้กรอบของธรรมาภิบาลที่ดีมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรายงานนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนขององค์กร ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรในแง่ความยั่งยืน