นักลงทุนสัมพันธ์

graphic
graphic
graphic

นักลงทุนสัมพันธ์

มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น

pic-g-20221905-1652932183-872.jpg

บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและความโปร่งใส ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงิน ถือเป็นหลักการและหน้าที่รับผิดชอบสำหรับพนักงาน และฝ่ายบริหารทุกระดับได้ปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่ดีและมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติงาน รวมถึงการให้และการรับสินบน ตลอดจนให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานการปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมอย่างเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตคอร์รัปชัน และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อให้การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล 

1. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร โดยปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปิดเผยและรายงานเหตุการณ์สำคัญของบริษัท รวมถึงรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง โปร่งใส ทันต่อเหตุการณ์

2. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานอย่างชัดเจนที่อยู่บนพื้นฐานของระบบการควบคุมภายในที่ดี รวมถึงมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัทเป็นประจำสม่ำเสมอ และมีการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีภายนอกที่มีความอิสระและได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการป้องกันและขจัดปัญหาการทุจริตภายในองค์กร

3. กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทและกลุ่มบริษัททั้งหมดไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะไม่จ่ายเพื่อให้เกิดการได้งานหรือธุรกิจในลักษณะไม่เป็นธรรม ตลอดจนบริษัทให้ความสำคัญกับการรับและการจ่ายสินบน

4. ทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย

1) การทุจริตหรือคอร์รัปชัน

2) นโยบาย

3) คำนิยาม

4) หน้าที่ความรับผิดชอบ

5) มาตรการปฏิบัติ

6) การเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน

7) การช่วยเหลือทางการเมือง

8) การบริจาคเพื่อการกุศล

9) เงินสนับสนุน

10) การแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน

11) ช่องทางในการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส

12) บทลงโทษ

การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ การฝ่าฝืนกฎหมาย จริยธรรม ระเบียบหรือนโยบายของบริษัทเพื่อการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้ ทั้งนี้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเรียก รับ เสนอ หรือให้ทรัพย์สิน รวมถึงประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดที่ทำธุรกิจกับบริษัท เป็นต้น

บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ภายใต้กติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม ดังนั้น บริษัทจึงไม่ยอมรับการติดต่อ หรือทำธุรกิจที่ไม่โปร่งใส หรือเข้าข่ายที่เป็นการทุจริต ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เป็นการทำลายเกียรติยศ ชื่อเสียงทั้งขององค์กรและของประเทศ ห้ามกรรมการ ฝ่ายบริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท กระทำการอันใดที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ เพื่อประโยชน์ทางตรง หรือทางอ้อมต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก ไม่ว่าตนจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้ หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงิน แก่หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจ หรือติดต่อด้วย โดยจะปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีโครงสร้างผู้รับผิดชอบ และระบบการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือคอร์รัปชันภายในองค์กร

“การทุจริต” หมายความรวมถึง การคอร์รัปชัน (Corruption) การติดสินบน (Bribery) และการฉ้อฉล (Fraud)

“การคอร์รัปชัน” (Corruption) หมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นการคอร์รัปชันขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และการทุจริตทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการให้ประโยชน์แก่พวกพ้อง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน

"การติดสินบน” (Bribery) หมายถึง การเสนอ สัญญา ให้ รับ หรือ เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในแง่ที่ไม่ถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรมต่อหน้าที่ ซึ่งแรงจูงใจอาจปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น ของขวัญ เงินรางวัล เป็นต้น

“การฉ้อฉล” (Fraud) หมายถึง การโกง หรือกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้บางฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เช่น การตกแต่งบัญชี การปั่นหุ้น เป็นต้น

4.1 คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล และอนุมัตินโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารให้ความสําคัญกับการต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารนำมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไปใช้เป็นแนวทางในปฏิบัติของภายองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

4.2 คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบ และสอบทานระบบรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสมทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเพียงพอสอดคล้องกับนโยบาย ข้อกำหนด และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4.3 ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบ หรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการ หรือการกระทำซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทรวมถึงการทุจริต คณะกรรมการตรวจสอบจะรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

4.4 กรรมการผู้จัดการและฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการกําหนดให้มีระบบการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจระเบียบ ข้อบังคับและข้อกําหนดของกฎหมาย

4.5 หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานภายในบริษัทให้เป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติอํานาจดําเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมาย ข้อกําหนดของหน่วยงาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมภายใน การประเมินประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการควบคุมความเสี่ยงด้านการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

4.6 พนักงานทุกระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบาย แนวทางปฏิบัติและมาตรการต่อต้านการทุจริต

5.1 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันโดยคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ฝ่ายบริหารนำมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันไปสื่อสารและปฏิบัติ

5.2 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่กำหนด รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย แต่ทั้งนี้บริษัทจะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อผู้ที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

5.3 บริษัทจัดให้มีระเบียบการเบิกจ่ายโดยกำหนดวงเงิน อำนาจอนุมัติ วัตถุประสงค์ และผู้รับ ซึ่งต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนประกอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทุจริตหรือคอร์รัปชัน พร้อมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน

5.4 บริษัทจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบงานขายและการตลาด รวมถึงงานจัดซื้อ และการทำสัญญาเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่าย และระเบียบการจัดซื้อ โดยหน่วยงานตรวจสอบภายในจะให้ความเห็น และติดตามวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม

5.5 บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และการเลื่อนตำแหน่ง

5.6 บริษัทจัดให้มีการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่กำหนดขึ้นช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และช่วยค้นหาข้อบกพร่องจุดอ่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี

5.7 หน่วยงานตรวจสอบภายในสามารถรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วนต่อคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

เพื่อให้พนักงานทุกระดับได้รับทราบนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน คณะกรรมการจึงกำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางดังนี้

6.1 บริษัทจะติดประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริต ณ กระดานประชาสัมพันธ์ของบริษัท

6.2 บริษัทจะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น ระบบอินทราเน็ต เว็บไซต์ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) และรายงานประจำปี (56-2)

6.3 บริษัทจะบรรจุนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันลงในคู่มือพนักงาน

6.4 จัดให้มีการอบรมนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันในวันปฐมนิเทศกับพนักงานใหม่

6.5 พนักงานทุกคนต้องลงนามในแบบฟอร์มและให้คำรับรองเพื่อยืนยันว่าได้รับรู้เนื้อหาของประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) และนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าได้อ่านแล้วและยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องต่าง ๆ ทั้งนี้ พนักงานไม่สามารถใช้ข้ออ้างว่าไม่ได้อ่านหรือไม่ได้ลงนามรับรู้ในแบบฟอร์มมาเป็นเหตุผลที่จะไม่ปฏิบัติตาม

6.6 ดำเนินการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีหากประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ (Codes of Conduct) หรือนโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชันมีการยกเลิกข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งในนโยบายนั้น การถูกยกเลิกจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และจะต้องเปิดเผยข้อกำหนดที่ถูกยกเลิกนั้นให้ทราบในทันที

การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contributions) หมายถึง การให้การสนับสนุนทางการเงิน สิ่งของ และหรือการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจการค้า ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่จะต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใด ๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใด ๆ ในทางการเมือง

บริษัทจะไม่สนับสนุนทางการเงินหรือสิ่งของให้แก่พรรคการเมือง นักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกทางการเมืองใด ๆ ไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเมืองตามความหมายในวรรคแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับบริษัท

การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Contribution, Donations And Aid Grants) บริษัทได้กำหนดนโยบาย และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศล กระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ดังต่อไปนี้

8.1 การบริจาคนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริงหรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)

8.2 การบริจาคนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นไปเพื่อการกุศลดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือหน่วยงานใด

เงินสนับสนุน (Sponsorships) เนื่องจากเงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท ซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสำหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและติดตามเงินสนับสนุนยังอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวกับการติดสินบน บริษัทจึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงินสนับสนุน กระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุมไว้ต่อไปนี้

9.1 เงินสนับสนุนนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ขอเงินสนับสนุนได้ทำกิจกรรมตามโครงการ ดังกล่าวจริงและเป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง หรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)

9.2 เงินสนับสนุนนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าการให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น การให้ที่พักและอาหาร เป็นต้น

9.3 ในการเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน จะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อเงินสนับสนุนวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการรับเรื่องร้องเรียน และการแจ้งเบาะแสโดยเปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียมีช่องทางการร้องเรียน แสดงความคิดเห็น และแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดตามกฎหมาย การทุจริต ความถูกต้องของรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายใน การละเมิดสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน การกระทำที่ขาดความรอบคอบ และขาดความระมัดระวัง รวมถึงการรับข้อร้องเรียนด้านการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ตลอดจนพฤติกรรมของผู้ที่อาจส่อไปทางทุจริต

ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชันและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

จดหมายลงทะเบียนถึง :

     ประธานกรรมการตรวจสอบ

     บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

     เลขที่ 72 อาคาร โทรคมนาคม บางรัก ชั้น 20 ถนนเจริญกรุง

     แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) : SgcAmnesty@sgcapitl.co.th

 

ผู้ที่ละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายต่าง ๆ รวมถึงข้อพึงปฏิบัติอื่นใดของบริษัทจะถูกดำเนินการลงโทษทางวินัยโดยพิจารณาจากเจตนา ภาวะแวดล้อม ผลการกระทำความผิด การให้ความร่วมมือในการสอบสวน การดำเนินการของผู้ละเมิด เพื่อแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก ซึ่งผู้ละเมิดอาจได้รับโทษทางวินัยตั้งแต่การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จนถึงโทษทางวิสัยสูงสุด คือ การปลดจากตำแหน่งหรือเลิกจ้าง

นโยบายและแนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน ฉบับนี้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2564 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป และจะพิจารณาทบทวนเป็นประจำทุกปี